Thursday, November 23, 2006

ฟอร์แม็ตโน็ตบุ๊ค

วันนี้ได้ฤกษ์ จัดการกับ โน๊ตบุ๊คซักที หลังจากที่ทนใช้มานาน เนื่องจากมีหลายงานที่ยังค้างคา และยังเสียดายอยู่ ตัดสินใจฟอร์แม็ตซะเลย และไม่สำรองอะไรไว้ด้วย ทิ้งหมด (สะใจ) ไวรัสที่เลี้ยงไว้หลายตัว ไม่เหลือครับท่าน ทีแรกว่าจะลงอูบันตู อย่างเดียว ไม่ลงแล้ววินโดวส์ เบื่อ ! แต่ก็มีบางโปรแกรมบนวินโดว์ที่ต้องใช้สอนเด็ก เลยต้องลงทั้งสองตัว ฮาร์ดิสก์ 40 GB แบ่งให้วินโดวส์ 10 GB พอ ลงแค่วินโดวส์กับโปรแกรม flash mx ที่เหลือ 30 GB ยกให้คุณพี่อูบันตูทั้งหมดครับ ลินุกซ์ อูบันตู ตัวนี้ น่าใช้มากครับ การติดตั้งก็ง่าย สวยงาม มีโปรแกรมให้ใช้เป็นพัน ๆ ครับ เพราะมีผู้ร่วมกันพัฒนาอยู่ทั่วทุกมุมโลก และสามารถติดตั้งโปรแกรมผ่านอินเตอร์เน็ตได้ง่าย ๆ ด้วยคำสั่งเดียว มีปัญหาอยู่บ้างในเรื่องของการตัดคำภาษาไทยใน firefox แต่ก็แก้ไขได้ครับ ใช้ความพยายามนิดหน่อย ค้นหาวิธีแก้บนเน็ต มีคนคอยตอบคำถามอยู่เยอะ โอกาสหน้าจะมาบันทึกเรื่องการติดตั้ง ubuntu 6.1 การติดตั้งโปรแกรมที่จำเป็น และการใช้งานคร่าว ๆ

Tuesday, November 21, 2006

บทกลอนดี ๆ

อ่านแล้วรู้สึกชอบครับ เลยมาบันทึกไว้

ถ้าโกรธกับเพื่อน ......... มองคนไม่มีใครรัก
ถ้าเรียนหนัก ๆ ......... มองคนอดเรียนหนังสือ
ถ้างานลำบาก ......... มองคนอดแสดงฝีมือ
ถ้าเหนื่อยนั้นหรือ ......... มองคนที่ตายหมดลม

ถ้าขี้เกียจนัก ......... มองคนไม่มีโอกาส
ถ้างานฝิดพลาด ........ มองคนไม่เคยฝึกฝน
ถ้ากายพิการ ......... มองคนไม่เคยอดทน
ถ้างานรีบรน ......... มองคนไม่มีเวลา

ถ้าตังค์ไม่มี ......... มองคนขอทานข้างถนน
ถ้าหนี้สินล้น ......... มองคนแย่งกินกับหมา
ถ้าข้าวไม่ดี ......... มองคนไม่มีที่นา
ถ้าใจอ่อนล้า ......... มองคนไม่รู้จักรัก

ถ้าชีวิตแย่ ......... จงมองคนที่แย่กว่า
อย่ามองแต่ฟ้า ......... ที่สูงเกินตาประจักษ์
ความสุขข้างล่าง ......... มีได้ไม่ยากเย็นนัก
เมื่อรู้แล้วจัก ......... ภาคภูมิชีวิตแห่งตน

Saturday, November 18, 2006

config router รุ่น Cisco 1700

ที่โรงเรียน เพิ่มความเร็วอินเตอร์เน็ต เป็น 512 กิโล router ตัวเดิมไม่สามารถรองรับได้ ผอ. ได้เราเตอร์ตัวใหม่มา เป็น ซิสโก 1700 จำเป็นต้องจัดการให้เราเตอร์ทำงานให้ได้ ดีใจที่จะได้ลองของใหม่พร้อมกับยังงง ๆ อยู่ว่าต้องทำยังไง ยังดีที่ได้หนังสือเล่มใหญ่ (ใหญ่มาก)จากคุณ แดนเพชร แห่ง CAT และความช่วยเหลือทางโทรศัพท์จากคุณบี เฉลิมชาติ แห่งราชภัฎศรีสะเกษ ขอบคุณมากครับ พอจะสรุปขั้นตอนคร่าวได้ดังนี้

1. ต่อสาย console
2. เรียกโปรแกรม Hyper Terminal กำหนดคาต่าง ๆ ให้ถูกต้อง
3. password :
4. Sriprachanukun> en <ย่อมาจาก enable>
5. password :
6. Sriprachanukun# conf t <เข้าสู่โหมด global>
7. Sriprachanukun(config)# interface fastEthernet 0
8. Sriprachanukun(config-if)# ip address 203.172.243.113 255.255.255.240 <กำหนดไอพีแอดเดรส ให้กับพอร์ต fastEthernet 0>
9. Sriprachanukun(config-if)# speed auto
10. Sriprachanukun(config-if)# exit
11. Sriprachanukun(config)# interface Serial 0
12. Sriprachanukun(config-if)# description connected to Cisco1720
13. Sriprachanukun(config-if)# no ip address
14. Sriprachanukun(config-if)# encapsulation frame-relay IETF
15. Sriprachanukun(config-if)# frame-relay lmi-type ansi
16. Sriprachanukun(config-if)# exit
17. Sriprachanukun(config)# interface Serial 0.1 point-to-point
18. Sriprachanukun(config-if)# ip address 203.172.250.29 255.255.255.252
19. Sriprachanukun(config-if)# frame-relay interface-dlci 99
20. Sriprachanukun(config-if)# exit
21. Sriprachanukun(config)# Ctrl+z

แค่นี้ จบ

Monday, November 13, 2006

Web Server & Samba Server by FreeBSD 6.1

๑. ติดตั้ง FreeBSD 6.1

๒. เพิ่มการ์ดแลนใบที่สอง
# vi /etc/rc.conf
หาบรรทัด ifconfig_rl0
เพิ่ม ifconfig_fxp0="inet 192.168.100.1 netmask 255.255.255.0" // fxp0 คือรหัสของการ์ดแลน ดูได้โดยคำสั่ง ifconfig

๓. compile kernel ใหม่
# cp /usr/src/sys/i386/conf/GENERIC /usr/src/sys/i386/conf/SPC

แก้ไขไฟล์ SPC
# vi /usr/src/sys/i386/conf/SPC

machine i386
cpu I486_CPU // ลบทั้งบรรทัด กด dd
cpu I586_CPU // ลบทั้งบรรทัด กด dd
cpu I686_CPU
ident GENERIC // เปลี่ย GENERIC เป็น SPC

# cd /usr/src/sys/i386/conf
# config SPC
# cd ../compile/SPC
# make cleandepend ; make depend ; make ; make install

รอนานพอสมควรช่วงนี้ใช้ notebook ไปดาวน์โหลดไฟล์ famp61-apache22-mysql5_php5.tar.gz จากเว็บ อ.กิตติพงษ์ มาเก็บไว้ก่อน เพื่อเวลาติดต้ังจะได้ไม่ต้องดาวน์โหลดทั้งหมด

เมื่อ compile kernel เสร็จรีสตาร์ทเครืีองใหม่โดย

# shutdown - r now

๔. ต่อเครื่องลูกเข้ากับเครื่องแม่โดยตั้งค่าไอพีที่เครื่องลูกเป็น 192.168.100.2 (ใช้สายไขว้)

ftp ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา ไปเก็บไว้ที่ /tmp
# cp /tmp/famp61-apache22-mysql5_php5.tar.gz /usr/ports/distfiles
# cd /usr/ports/distfiles
# gzip -cd famp61-apache22-mysql5_php5.tar.gz tar xvf - (แตกไฟล์)

๕. ติดตั้ง mysql ผ่าน port
# cd /usr/ports/databases/mysql50-server
# make WITH_CHARSET=tis620 WITH_XCHARSET=all WITH_COLLATION=tis620_thai_ei install

นานมาก ........................................ เมื่อเสร็จแล้ว

เพิ่มคำสั่ง mysql_enable = "YES" ลงใน /etc/rc.conf

# shutdownd -r now

ใส่ username & password ให้กับ mysql โดย

# mysqladmin -u root password 123456

ทดลองใช้ mysql

# mysql -u root -p123456
mysql > show database
mysql > exit

๖. ติดตั้ง apache2 ผ่าน port

# cd /usr/ports/www/apache22
# make install

รอซักครู่ ....................... เมื่อติดตั้งเสร็จ

แก้ไขไฟล์ httpd.conf

# vi /usr/local/etc/apache22/httpd.conf

แก้ไข ดังนี้

DirectoryIndex index.html index.php index.htm
AddType application/x-httpd-php .php

เพิ่มคำสั่ง apache22_enable = "YES" ลงใน /etc/rc.conf

# shutdown -r now

ทดสอบโดยใช้เครื่องลูกเรียกเบราว์เซอร์ เอดเดรส http://192.168.100.1
มีข้อความ it work ! ก็คือผ่าน

๗. ติดตั้ง php5 ผ่าน port

# cd /usr/ports/lang/php5
# make config
ไม่เลือก debug ตัวเดียว
# make install

เสร็จแล้วจัดการกับไฟล์ php.ini

# cp /usr/local/etc/php.ini-dist /usr/local/etc/php.ini

แก้ไขไฟล้ php.ini
# vi /usr/local/etc/php.ini

แก้ไข ดังนี้

register_globals = on
default_charset = "tis-620"

๘. ติดตั้ง php5-extentions ผ่าน port

# cd /usr/ports/lang/php5-extentions
# make config
# make install

๙. ติดตั้ง zendoptimizer เพิ่มความเร็วให้ php

ดาวน์โหลด ZendOptimizer 3.01 จาก http://www.zend.com/free_download/optimizer
ftp ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาได้ไปไว้ที่ /tmp

# cd /tmp
# gzip -cd ZendOptimizer -------- tar xvf -
# cd ZendOptimizer --------
# ./install.sh

๑๐. สร้างไฟล์ test.php เพื่อทดสอบ php

# vi /usr/local/www/apache22/data/test.php



# shutdown -r now

ใช้เครื่องลูก เรียก http://192.168.100.1/test.php จะเห็นรายละเอียดของ php ครับ

----------------------------------------------------------------------

Samba Server

1. ดาวน์โหลด samba-2.2.8.tar.gz

2. ftp samba-2.2.8.tar.gz ไปไว้ที่ /tmp

3. เพิ่มผู้ใช้ใหม่ ชื่อ samba
# adduser samba
ทำตามขั้นตอนจนเสร็จ

4. ก็อปปี samba-2.2.8.tar.gz ไปไว้ที่ /home/samba
# cp /tmp/samba-2.2.8.tar.gz /home/samba

5. แตกไฟล์ samba-2.2.8.tar.gz
# cd /home/samba
# gzip -cd samba-2.2.8.tar.gz tar xvf -

6. การติดตั้ง
# cd /home/samba/samba-2.2.8/source
# ./configure --prefix=/home/samba
# make ; make install

7. สร้างไฟล์คอนฟิค
# vi /home/samba/lib/smb.con
รายละเอียด ดังนี้

[global]
workgroup = spc (spc คือ workgroup ที่กำหนดใน windows)
encrypt passwords = Yes
update encrypted = Yes
log file = /home/samba/var/samba-log.%m
max log size = 15000
preferred master = False
domain master = False
guest account = guest
hosts allow = 192.168.10.0/255.255.255.0
hosts deny = ALL

8. กำหนดให้ samba รู้จัก user
# /home/samba/bin/smbpasswd -a ple (ple คือชื่อของ user )

9. เพิ่มคำสั่ง ลงใน /etc/rc.local ดังนี้
/home/samba/sbin/smbd-D &
/home/samba/sbin/nmbd-D &

10. # shutdown -r now

อบรม Linux SIS 5.0 โรงแรมโฆษะ จ.ขอนแก่น

วิทยากร : คุณสมเดช และคณะผู้จัดทำ Linux sis จากเนคเทค
ผู้เข้ารับการอบรม : ตัวแทนจากเขตพื้นที่การศึกษาในภาคอีสาน เขตละ 1 คน
สพท.ศก. 3 : นายธนรัตน์ สวัสดิกุล และ ศน.อภิเดช เดชนากร็ด

วันที่ 10 กันยายน 2549
รายงานตัวเวลา 12.30
เริ่มอบรม 13.00
13.30 พิธีเปิด
13.35 เริ่มการอบรม
1. การติดตั้ง (เรื่องเดิม เคยอบรมแล้ว ไม่บันทึก)


คำสั่งต่าง ๆ ที่น่าสนใจ

1. คำสั่ง ll = ls -l (เปรียบได้กับ dir)

2. cp file ~ ------> ก็อปปี้ ไฟล์ ไปว้ที่ home directory ของ user

3. คำสั่ง history เป็นการดูประวัติการใช้คำสัง
- ถ้าต้องการใช้คำสั่งเดิม กด ! + เลขลำดับคำสั่ง
- Ctrl + r ----> ค้นหาคำสั่งจาก history
- Shift + PgDn ------> ดูหน้าด้านถัดไป
- Shift + PgUp
------> ดูหน้าที่ผ่านมา

4. link มี 2 แบบ
- hard link รูปแบบคำสั่ง ln + file + ปลายทาง
จะได้ไฟล์ 2 ไฟล์ ที่เหมือนกันทุกประการ แก้ไขที่ไฟล์ใดอีกไฟล์จะเปลี่ยนตาม
- simurate link รูปแบบคำสั่ง ln -s file + ปลายทาง
เหมือนการสร้าง shotcut ใน windows

5. คำส่ังแปลงร่าง
$ su -l -user
password :

6. คำสั่งในการดูว่าใคร login เข้ามาใน server บ้าง และกำลังทำอะไร อยู่ที่ไหน
- who
- w

7. คำสั่ง eject เอาแผ่นซีดีออก (เป็นสิทธิ์ของ root แต่เพียงผู้เดียว และจะทำได้หลังจากที่ umount แล้วเท่านั้น)

8. คำสั่งลบไดเรคทอรี
# rm -r + ชื่อไดเรคทอรี
# rm -rf +
ชื่อไดเรคทอรี (ถ้ามีการขัดขืนก็ใช้กำลัง)

9. # df -h (เหลือพื้นที่ว่างเท่าไหร่)

10. # du -h (ใช้พื้นที่ไปเท่าไหร่)

11. # free -m (เช็คแรม)

12. # top (ดูสถานะเครื่อง)


น่ารู้ linux sis

1. การทำ link
กรณีสร้างเว็บไว้ที่ home แต่เวลาเรียก ไม่ต้องการให้มีหนอนแบบนี้ http://192.168.212.1/~user แก้ไขได้โดยการสร้าง link ดังนี้
# ln -s /home/user/www/index.html /var/www/html/user

2. cp file ~ ------> ก็อปปี้ ไฟล์ ไไว้ที่ home directory ของ user

3. ไฟล์ต่าง ๆ ที่ sis สร้างขึ้นเองใน home ห้ามลบ !

4. การควบคุมการเข้าถึง host
- 127.0.0.1 หมายถึง localhost
- ถ้าไม่ต้องการให้ server เอง login : admin ได้ ให้ลบ 127.0.0.1 ออก

5. web server
- sis เป็น webserver อยู่แล้ว
- user ที่สามารถ ftp ไปยัง /var/www/html ได้ ต้องอยู่ใน group webmaster เท่านั้น

6. การกำหนดสิทธิ์ที่ home directory เพื่อเปิดเว็บไซต์
- สร้าง /home/user/www
- chmod 744 /home/user/www/index.html
- chmod 701 /home/user/www
- chmod 701 /home/user

7. lan card ใบนอก ที่ต่ออินเตอร์เน็ต ต้องทำการต่อสายแลนด์ก่อน ค่อยทำการตั้งค่าและบันทึก

8. ถ้า lan card ใบนอก ที่ต่ออินเตอร์เน็ต รับค่าไอพี อัตโนมัติ ไม่ต้องให้ค่า DNS และ gateway (เพราะ dhcp จะกำหนดมาให้ด้วยแล้ว)

9. รหัสผ่านของบุคคลสำคัญ 2 คน คือ root และ admin ต้องกำหนดอย่างน้อย 6 ตัวอักษร

10. การทำให้เครื่องลูกสามารถ FTP ไปยังโฮสต์อื่นได้
# vi /etc/sisconfig
/iptables-config
แก้บรรทัด

IPTABLES_MODULES="​" ​เป็น
IPTABLES_MODULES="ip_nat_ftp"



ยังไม่เสร็จครับ เดี๋ยวกลับมาทำต่อ เมื่อยแล้ว

Sunday, November 12, 2006

เริ่ม ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๙

ศน.อภิเดชมาแนะนำเว็บ blogspot เลยเข้ามาสมัคร ขอพื้นที่ เพื่อทำสมุดบันทึก ของตัวเอง